เคล็ดลับ ดูแลตับ

ดูแลตับ

ตับ (Liver) ถือว่าเป็นอวัยวะสำคัญ และใหญ่ที่สุดของร่างกายที่มีเพียงหนึ่งเดียว มีหน้าที่แปรสภาพสารต่างๆ รวมถึงยาที่เรารับประทานเพื่อรักษาโรคเข้าสู่ร่างกาย ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถขับออกได้ รวมถึงเป็นเป็นแหล่งผลิตน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหาร สร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ดังนั้น เมื่อตับทำงานผิดปกติจึงทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต การถนอมรักษาตับจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง หากเราไม่มีการ ดูแลตับ รักษาหรือป้องกันที่ดีก็อาจทำให้ตับเกิดการอักเสบขึ้นมาได้

เคล็ดลับ ดูแลตับ ของเรา สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มากเกินไป ควรรับประทานอาหารเป็นมื้อ ไม่กินจุกจิก หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่สั่งพิเศษหรือการกินบุฟเฟ่ต์ โดยพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 กิโลกรัม/เมตร และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 – 200 นาทีต่อสัปดาห์

2. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ควรดื่มเกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวันในผู้ชาย หรือ 1 ดื่มมาตรฐานต่อวันในผู้หญิง โดย 1 ดื่มมาตรฐานประมาณเท่ากับเบียร์ 1 แก้วหรือ 1 กระป๋อง (200-300 mL) ไวน์ 1 แก้วไวน์ (80-100 mL) หรือเหล้าสี 1 เป๊ก (25-30 mL)

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล เนื่องจากร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นไขมันทำให้ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นได้ โดยไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาหรือ 24 กรัมต่อวัน อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมหวาน นมรสหวาน นมเปรี้ยว ชาเขียว น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ ผลไม้เชื่อม เป็นต้น

4. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื่องจากทำให้ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นได้ ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น แต่ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวันเนื่องจากให้พลังงานสูง ทำให้อ้วนได้เช่นกัน

5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะถ้าเราพักผ่อนน้อยเป็นประจำนอกจากจะตื่นมาร่างกายไม่สดใส ดูเหนื่อยล้า ดูโทรมแล้ว ยังส่งผลเสียโดยตรงต่อร่างกายภายในอีกด้วย เพราะการอดนอนจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติไป โดยฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อตับ เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) จะมีการหลั่งออกมาเยอะกว่าปกติ ทำให้ไปกระตุ้นไขมันให้มาเก็บสะสมไว้ที่ตับมากขึ้น จนกลายเป็นภาวะเสี่ยงต่อโรคไขมันพอกตับได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า