ใครที่เคยเป็น “โรคเก๊าท์” จะรู้ดีว่าอาการมันทรมานแค่ไหน แค่ผ้าห่มปลายเท้า หรือเสียงกระซิบเบา ๆ ยังรู้สึกเหมือนโดนเหยียบเต็มแรง จนมีคนเปรียบไว้ว่า “พูดเบา ๆ ก็ปวด” และที่สำคัญ… โรคนี้ไม่ได้เกิดแค่กับคนแก่เหมือนที่หลายคนเข้าใจ!
เก๊าท์คืออะไร?
โรคเก๊าท์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อยูริกสะสมมากเข้า จะตกผลึกตามข้อ โดยเฉพาะข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อเข่า และก่อให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อนอย่างรุนแรง
อาการแบบ “พูดเบา ๆ ก็ปวด”
-
ปวดเฉียบพลัน มักเกิดตอนกลางคืนหรือตื่นนอน
-
ปวดที่ข้อใดข้อหนึ่ง โดยเฉพาะโคนนิ้วหัวแม่เท้า
-
ข้อบวมแดง กดไม่ได้ แตะเบา ๆ ก็ปวด
-
บางคนมีไข้ร่วมด้วย
ทำไมเดี๋ยวนี้คนหนุ่มสาวถึงเป็นเก๊าท์มากขึ้น?
-
ดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์
-
ทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ปลาทู ปลาซาร์ดีน น้ำต้มกระดูก
-
ชอบกินบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง หมูกระทะบ่อย ๆ
-
พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียดสะสม
-
ดื่มน้ำน้อย ทำให้กรดยูริกขับออกไม่หมด
โรคเก๊าท์รักษาได้ไหม?
สามารถควบคุมอาการได้ โดยการปรับพฤติกรรมและการใช้ยา เช่น
-
ลดอาหารที่มีพิวรีนสูง
-
ดื่มน้ำให้เพียงพอ (2–3 ลิตรต่อวัน)
-
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-
พบแพทย์เพื่อตรวจและรับยาควบคุมกรดยูริก
“โรคเก๊าท์” ไม่ใช่เรื่องเล็ก และไม่ใช่แค่เรื่องของคนแก่ หากคุณเคยมีอาการปวดข้อแบบแปล๊บ ๆ บวม แดง ร้อน ต้องรีบเช็กตัวเอง เพราะถ้าปล่อยไว้โดยไม่ดูแล อาจลุกลามไปข้ออื่น ๆ หรือรุนแรงถึงขั้นข้อพิการได้